คู่มือสำหรับมือใหม่เริ่มต้นเปิดร้านขายของชำต้องมี


HIGHLIGHTS

 

  • ในการเริ่มต้นเปิดร้านเราต้องทำการศึกษาลูกค้าและสถานที่บริเวณนั้นว่ากลุ่มลูกค้าของเราเป็นประเภทไหน คนทั่วไป นักเรียนนักศึกษา พนักงานออฟฟิศ หรือผู้สูงวัย เพื่อที่เราจะสามารถนำสินค้ามาขายได้ตอบโจทย์มากยิ่งขึ้น

  • ในการนำสินค้ามาขายเราสามารถเริ่มได้จากการทำรายการหมวดหมู่สินค้าที่เราต้องการขึ้นมาก่อนเพื่อให้เห็นภาพรวม จากนั้นทำการหาแหล่งที่สามารถซื้อสินค้าหลายรายการในที่เดียวเพื่อประหยัดเวลาในการซื้อของ

  • การจัดการเงินและการทำบัญชีจะช่วยให้เห็นภาพความเป็นจริงในการทำธุรกิจว่าเป็นอย่างไร คุณสามารถทำกำไรได้เท่าไหร่ และต้องพัฒนาปรับปรุงร้านค้าของคุณอย่างไรต่อไป

  • อุปกรณ์ภายในร้านและการจัดวางเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของร้านขายของชำ ช่วยให้ภายในร้านดูเป็นระเบียบเลือกซื้อสินค้าได้ง่ายและยังมีส่วนช่วยให้ยอดขายเพิ่มมากขึ้น


ในการเริ่มต้นเป็นเจ้าของธุรกิจหรือเริ่มต้นลงทุนเปิดร้านขายของชำ อาจมีหลายเรื่องให้ต้องคำนึงถึงทำให้หลายท่านอาจสับสน และไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นอย่างไรบ้าง วันนี้ร้านติดดาวเรามีบทความดี ๆ ที่จะเป็นเหมือนคู่มือและเพื่อนคู่คิดให้คุณสามารถเริ่มต้นเปิดร้านได้ง่ายยิ่งขึ้น มีหัวข้อเกี่ยวกับอะไรบ้างเราไปดูกันเลย

สารบัญ

1.การศึกษากลุ่มลูกค้าและสถานที่

2.หมวดหมู่สินค้า / สต็อกสินค้า

3.การมองหาแหล่งซัพพลายเออร์

4.การทำบัญชี / ภาษี

5.อุปกรณ์ภายในร้าน

6.การตกแต่งจัดวางสินค้าภายในร้าน


1.การศึกษากลุ่มลูกค้าและสถานที่

ในการเริ่มต้นเปิดร้านขายของชำหรือการทำธุรกิจ  สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การศึกษาลูกค้าและสำรวจสถานที่ที่เราขายของว่าผู้คนบริเวณนั้นเป็นใคร? ชอบอะไร? หรือมีความต้องการแบบไหน? เพื่อที่คุณจะได้เตรียมสินค้าให้ตอบโจทย์กับลูกค้าได้มากที่สุด และช่วยในการเพิ่มยอดขายมากกว่าการที่เราคาดเดาและเตรียมสินค้าทุกแบบเอาไว้เยอะ ๆ แต่ขายไม่ได้อาจ   ทำให้ของค้างสต็อก หมดอายุและต้องทิ้งในที่สุด


2.หมวดหมู่สินค้า / สต็อกสินค้า

สำหรับผู้ที่เริ่มต้นเปิดร้านขายของชำ อาจเกิดความสับสนว่าเราต้องนำอะไรมาขายบ้างนะ? แล้วจะจัดการรายการสินค้าที่มีเยอะแยะอย่างไรดี ซึ่งการจัดการรายการสินค้าจะมีผลต่อการเตรียมสต็อกสินค้าด้วยเช่นกัน ร้านติดดาว ขอแนะนำให้คุณเริ่มต้นจากการแบ่งสินค้าออกตามหมวดหมู่และทำรายการสินค้าขึ้นมา ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากเวลาคุณนับสต็อกและซื้อสินค้ามาเติม ซึ่งเราได้นำรายการสินค้ามาเป็นตัวอย่าง ดังนี้

  • อาหารแห้ง – ข้าวสาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผลไม้อบแห้ง น้ำมัน วุ้นเส้น น้ำพริกแห้ง ปลากระป๋อง

  • เครื่องปรุง – น้ำปลา น้ำส้มสายชู ผงปรุงรส น้ำตาล พริกป่น ซอสปรุงรส

  • เครื่องดื่ม – น้ำเปล่า น้ำชา โซดา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง กาแฟกระป๋อง กาแฟซอง นมกล่อง น้ำผลไม้

  • ขนมลูกอม – ขนมซอง หมากฝรั่ง ช็อกโกแลต

  • เบเกอรี่ – ขนมปัง ขนมเค้ก คุ้กกี้

  • ของใช้ส่วนตัว – แป้งทาตัว สบู่ ยาสระผม โรลออน โฟมล้างหน้า

  • ครีมซอง – ครีมทาผิว ครีมกันแดด ครีมบำรุง

  • ของเล่น – ลูกบอล ปืนของเล่น ตุ๊กตา

  • อุปกรณ์ทำความสะอาด – ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาถูพื้น ไม้กวาด

  • อื่นๆ ยาฆ่าแมลง ยากันยุง รองเท้าแตะ ถุงเท้า เครื่องเขียน


3.การมองหาแหล่งซัพพลายเออร์

หลังจากที่คุณทราบแล้วว่าต้องการนำสินค้าอะไรมาลงขายบ้าง คุณอาจต้องทำการสำรวจว่าแหล่งซัพพลายเออร์ของสินค้าแต่ละหมวดหมู่ว่ามีราคา ระยะทาง เงื่อนไขต่าง ๆ แตกต่างกันอย่างไร หรืออีกหนึ่งทางเลือกคือการติดต่อโดยตรงกับตัวแทนจำหน่ายของสินค้าแต่ละประเภท

4.การทำบัญชีและภาษี

การทำบัญชีเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำธุรกิจหรือเปิดร้านค้าเป็นอย่างมาก เพราะว่าการดำเนินกิจการจะกำไรหรือขาดทุนนั้น ทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับรายการบัญชีรายรับที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว  ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่าเราทำกำไรได้เท่าไหร่และยังช่วยให้เราทราบอีกว่า สินค้าประเภทไหน ชิ้นไหนที่ขายดี และเห็นโอกาสในการนำสินค้ารูปแบบอื่น ๆ มาขายเพิ่ม เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับร้านของเราได้ และใช้ในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะคิดจาก รายได้สุทธิ ไม่ใช่รายได้ตลอดทั้งปี สามารถคำนวณได้จาก รายรับ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = รายได้สุทธิเสียภาษี

ซึ่งคุณสามารถใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีได้  และเกณฑ์ในการเสียภาษีจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

  1. การเสียภาษีแบบเหมา

  2. การเสียภาษีแบบใช้จ่ายตามจริง


5.อุปกรณ์ภายในร้าน

การเริ่มต้นเปิดร้านขายของชำ เรื่องของอุปกรณ์ชั้นวางต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญต่อมาจากเรื่องของสินค้า เพราะว่าการซื้ออุปกรณ์ภายในร้านจะต้องคำนวณไปกับจำนวนสินค้าว่าเราจะนำสินค้าแบบไหน จำนวนเท่าไหร่มาขายบ้าง ซึ่งในการเปิดร้านขายของชำนั้น เราได้แบ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ  ออกมาดังต่อไปนี้

  1. ชั้นวางสินค้า – ชั้นวางริมผนัง / ชั้นวางกลางห้อง / ชั้นตะกร้า / ชั้นเก็บสต็อกสินค้า / ชั้นวางขวด

  2. ตู้แช่หรือตู้ใส่น้ำ – ตู้แช่ 2 ประตู / ตู้ใส่น้ำแข็ง / ตู้แช่ไอศกรีม / ตู้แช่เบียร์วุ้น

  3. เคาน์เตอร์คิดเงิน – เคาน์เตอร์ยาว / ชั้นวางบนเ / ตู้หลังเคาน์เตอร์

  4. อุปกรณ์เสริม

ซึ่งในการเลือกซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ มีหลายระดับหลายราคา มือหนึ่ง มือสอง คุณสามารถเลือกซื้อได้ตามงบประมาณ หรือหาแหล่งซื้อได้จากโรงงาน ตัวแทนจำหน่าย และกลุ่มในโซเชียลมีเดีย


6.การตกแต่งจัดวางสินค้าภายในร้าน

เมื่อเราได้สถานที่ตั้งร้านค้า สินค้าที่จะขาย อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในร้านแล้ว ต่อมาเป็นเรื่องของการตกแต่งจัดวางสินค้าภายในร้าน เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ช่วยให้ร้านของคุณดูดีขึ้นแล้วยังมีส่วนช่วยให้คุณเพิ่มยอดได้ เช่น

·      ความสูงของแผ่นชั้นวางสินค้าแต่ละชั้นจะต้องพอดีกับส่วนสูงของสินค้าและมีพื้นที่ให้หยิบสินค้าได้

·      ทางเดินร้านค้าจะต้องไม่แคบเกินไปจนทำให้ลูกค้าเดินสวนกันไม่ได้

·      ไฟภายในร้านจะต้องสว่างทำให้มองเห็นสินค้าชัด หากร้านค้ามืดจะทำให้สินค้าดูเก่าได้

·      การจัดเรียงสินค้าบนชั้นวางให้แบ่งตามหมวดหมู่และการใช้งาน

·      เคาน์เตอร์คิดเงินจัดวางไว้หน้าร้านตรงทางออกเพื่อเช็คว่าลูกค้าได้จ่ายเงินแล้วค่อยเดินออกจากร้าน

ในการเริ่มต้นเปิดร้านขายของชำ สำหรับมือใหม่เราจะต้องคำนึงถึงหลาย  ๆ ปัจจัย ซึ่งในบทความนี้เราได้รวบรวมหัวเรื่องหลัก ๆ  ที่จะช่วยให้คุณเริ่มต้นเปิดร้านค้าได้อย่างมืออาชีพมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่เรื่องการศึกษาลูกค้าไปจนถึงเรื่องการตกแต่งร้านค้า ดังนี้

1.       การศึกษาลูกค้าว่ามีความต้องการซื้อสินค้าประเภทไหน

2.       เตรียมสินค้า แบ่งออกเป็นหมวดหมู่

3.       การหาแหล่งซัพพลายเออร์ หรือติดต่อโดยตรงกับตัวแทนจำหน่ายสินค้า

4.       การทำบัญชี รายรับรายจ่าย  และศึกษาเรื่องการยื่นภาษี

5.       การเตรียมหาอุปกรณ์ชั้นวางสินค้า เคาน์เตอร์ ตู้แช่สำหรับจัดเรียงสินค้า

6.       การตกแต่งจัดวางสินค้าภายในร้านให้เป็นระเบียบ หยิบจับสินค้าได้ง่าย  และอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า

แหล่งที่มา : https://thegrocerystoreguy.com